นักวิจัยชาวจีนค้นพบกราฟีนตามธรรมชาติเป็นครั้งแรกในตัวอย่างดินที่ยานสำรวจฉางเอ๋อ-5 นำกลับมาจากดวงจันทร์เมื่อไม่นานนี้ ซึ่งทำให้ได้ข้อมูลเชิงลึกใหม่ๆ เกี่ยวกับกิจกรรมทางธรณีวิทยาของดวงจันทร์ ประวัติวิวัฒนาการ และคุณลักษณะของสิ่งแวดล้อม ตลอดจนองค์ประกอบแร่ธาตุที่ซับซ้อนของดิน
ทีมวิจัยจากมหาวิทยาลัยจี๋หลิน คาดการณ์ว่าคาร์บอนระหว่างดวงดาวทั้งหมด 1.9% จะอยู่ในรูปของกราฟีน ซึ่งสัณฐานวิทยาและคุณสมบัติถูกกำหนดโดยกระบวนการก่อตัวเฉพาะ ดังนั้น กราฟีนตามธรรมชาติจึงสามารถให้ข้อมูลและเอกสารอ้างอิงที่สำคัญสำหรับวิวัฒนาการทางธรณีวิทยาของเทห์ฟากฟ้า และการใช้ทรัพยากรบนดวงจันทร์ ณ แหล่งกำเนิด
นักวิจัยยังยืนยันอีกว่าคุณภาพผลึกของกราไฟต์ในตัวอย่างดินบนดวงจันทร์นั้นค่อนข้างสูง และพบว่าแหล่งสุ่มตัวอย่างคาร์บอนบนดวงจันทร์ยังประกอบด้วยสารประกอบเหล็กที่พวกเขาเชื่อว่ามีความเกี่ยวข้องอย่างใกล้ชิดกับการก่อตัวของกราฟีนอีกด้วย

จากการสังเกตและวิเคราะห์ ทีมวิจัยยืนยันว่าคาร์บอนในรูปแบบกราไฟต์ที่พบในตัวอย่างดินบนดวงจันทร์เป็นกราฟีนแบบชั้นไม่กี่ชั้น การก่อตัวของกราฟีนและกราไฟต์อาจเกิดจากการเร่งปฏิกิริยาของแร่ธาตุที่เกิดจากลมสุริยะและการปะทุของภูเขาไฟบนดวงจันทร์ในยุคแรกๆ
กราฟีนเป็นวัสดุซูเปอร์แมททีเรียลที่แข็งแกร่งกว่าเหล็กและเบากว่ากระดาษ กราฟีนถูกนำไปใช้งานในหลายสาขา และคาดว่าจะได้รับความนิยมในอนาคต งานวิจัยข้างต้นของ นักวิทยาศาสตร์ ชาวจีนได้รับการตีพิมพ์ในวารสาร National Science Review
เป็นที่ทราบกันว่าในเดือนธันวาคม พ.ศ. 2563 ยานฉางเอ๋อ-5 ได้นำตัวอย่างจากดวงจันทร์น้ำหนัก 1,731 กรัมกลับมายังโลก ตัวอย่างเหล่านี้ถือเป็นตัวอย่างแรกที่เก็บมาจากพื้นที่อายุน้อยกว่าบนพื้นผิวดวงจันทร์ซึ่งมีหินภูเขาไฟ และเป็นตัวอย่างวัตถุท้องฟ้านอกโลกชุดแรกที่นักวิทยาศาสตร์ชาวจีนได้รับ
ณ ต้นเดือนมิถุนายนปีนี้ ได้มีการแจกจ่ายตัวอย่างดวงจันทร์ 258 ตัวอย่าง น้ำหนัก 77.7 กรัม ไปยัง 114 กลุ่มวิจัยในสถาบันวิจัย 40 แห่ง ผลการวิจัยมากกว่า 70 ชิ้น ได้รับการตีพิมพ์ในวารสารวิชาการชั้นนำทั้งในและต่างประเทศ
แหล่งที่มา
การแสดงความคิดเห็น (0)